การออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียวนั้นเป็นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด เพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากรที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสถาปัตยกรรมสีเขียวควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบเหล่านี้
– การใช้แสงสว่างธรรมชาติ เช่น หลีกเลี่ยงแสงแดดในทิศใต้ ใช้แสงindirectจากทิศเหนือ
– การใช้วัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเป็นวัสดุที่ไม่มีสารระเหยในกลุ่ม Formaldehyde
– การประยุกต์ใช้ร่มเงาจากต้นไม้โดยพยายามรักษาให้มีพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 20%
– การทำความเย็นโดยวิธีธรรมชาติ การจัดช่องเปิดให้ลมธรรมชาติสามารถถ่ายเทได้สะดวก
– รูปทรงและทิศทางอาคารควรลดพื้นที่ที่โดนแสงแดดส่องและหันเปิดรับลม
– วัสดุและการก่อสร้างไม่ส่งผลกระทบและมลพิษกับสิ่งแวดล้อมทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ
– การสร้างร่มเงาให้อาคารด้วยแผงกรองแสง ชายคาเพื่อลดความร้อนในอาคาร
– การใช้แหล่งนํ้าเพื่อการไหลเวียนความเย็นโดยออกแบบให้ลมพาความเย็นจากแหล่งน้ำเพื่อลดอุณหภูมิ
– การใช้พลังงานธรรมชาติเช่น การติด Solar Panel หรือการออกแบบระบบ Off grid ร่วมกับการใช้ไฟฟ้า On grid
งานสถาปัตยกรรมทุกประเภทสามารถเป็นสถาปัตยกรรมสีเขียวได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัยจนไปถึงอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ หากงานสถาปัตยกรรมนั้นมีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตามงานสถาปัตยกรรมสีเขียวไม่จำเป็นต้องใช้หลักการเดียวกันเสมอไป เนื่องจากประเทศและภูมิภาคต่างๆล้วนมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไปแต่หลักการในการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียวนั้นต้องสามารถนำให้อยู่สบาย ลดพลังงาน ลดมลพิษทั้งในโครงการและพื้นที่รอบข้าง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้องโดยสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกสภาพแวดล้อม