SUMPHAT.SPACE

Design Consultancy on the practice of architecture, interior and branding.

Environment

Environment

สถาปัตยกรรมสีเขียวเป็นแนวคิดเพื่อให้ที่พักอาศัยมีคุณภาพที่ดีขึ้นส่งผลต่อผู้อยู่อาศัย โดยจุดเด่นของสถาปัตยกรรมสีเขียวคือ 1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เพราะหลักการขั้นพื้นฐานในการพัฒนางานสถาปัตยกรรมสีเขียวนั้น คือการเลือกใช้วัสดุพื้นถิ่นที่หาได้ง่าย สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน 2. เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน นอกจากการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ระหว่างการก่อสร้างก็จะคำนึงถึงการไม่รบกวนหรือส่งผลเสียต่อชุมชนที่อยู่รอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสียงรบกวน และยังมุ่งเน้นในเรื่องของการรักษาพื้นที่สีเขียวบริเวณโดยรอบ 3. เพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพของผู้ใช้อาคาร การเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาตินั้นมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมไปถึงการเลือกใช้สารเคลือบผิว เช่น สีที่มีสารอินทรีย์ระเหยง่ายต่ำ ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับสภาพแวดล้อมภายในอาคาร และการออกแบบที่คำนึงถึงทิศทางแดดและลมนั้นก็จะช่วยให้อากาศสามารถหมุนเวียนได้ดี อุณหภูมิและแสงสว่างสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านการควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 4. ลดการใช้พลังงานในการผลิต รวมทั้งสะท้อนวิสัยทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้ใช้ การพัฒนางานสถาปัตยกรรมสีเขียวช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเจ้าของ เพราะการให้ความสำคัญกับการพัฒนางานสถาปัตยกรรมสีเขียวนับเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

สถาปัตยกรรมสีเขียว หรือ GREEN ARCHITECTURE เป็นรูปแบบการออกแบบโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อช่วยส่งเสริมให้อาคารได้ใช้สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการอยู่อาศัยและการประหยัดพลังงานจะต้องสุมดุลกัน หากการเลือกที่จะประหยัดพลังงานจนทำให้อยู่อาศัยไม่สบายนั้นถือว่าไม่ตอบโจทย์ในการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียว ซึ่งในการออกแบบจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. การใช้พลังงานธรรมชาติ : การเลือกใช้พลังงานทดแทนสามารถหมุนเวียนได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังจาก พืชพันธุ์และมูลสัตว์ 2. ความสอดคล้องกับสภาพอากาศ : ในการออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมสีเขียวนั้น ต้องมีการคำนึงถึงการจัดวางพื้นที่ต่างๆสำหรับการใช้สอยให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ดังนั้นการดูทิศทางแดดและทิศทางลมตามธรรมชาติ และการเลือกใช้วัสดุพื้นถิ่นที่เข้ากับภาพแวดล้อมนั้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียวเช่นกัน 3. สภาวะน่าสบาย : หลักการความอยู่สบายของมนุษย์นั้นต้องคำนึงถึง อุณหภาพ แสงสว่าง เสียง และคุณภาพของอากาศด้วย