SUMPHAT.SPACE

Design Consultancy on the practice of architecture, interior and branding.

Craft

Craft

ก่อนยุคอุตสาหกรรมและก่อนการผลิตเครื่องจักรไอน้ำ ช่างฝีมืองานหัตถกรรม ช่างแกะสลักหินและไม้นั้นมีบทบาทหลักในการสร้างงานสถาปัตยกรรม เนื่องจากสถาปัตยกรรมในอดีตอาศัยเครื่องมือและแรงงานคนเป็นหลัก จึงต้องอาศัยองค์ความรู้ที่มีการสืบต่อทางด้านวัฒนธรรม นำมาใช้ในการก่อสร้างที่พักอาศัย แต่หลังจากการกำเนิดของยุคอุตสาหกรรมมา เกิดแนวความคิดใหม่ในการสร้างงานสถาปัตยกรรม จากวัสดุทางอุตสาหกรรม วัสดุต่างๆผ่านจากโรงงาน เน้นปริมาณ และมีความรวดเร็วในการผลิต รวมทั้งลดความสามารถของช่างชำนาญการให้คนทั่วไปสามารถผลิตได้อย่างง่าย การสร้างงานสถาปัตยกรรมด้วยงานหัตกรรมซึ่งต้องใช้องค์ความรู้สูงและเวลาในการผลิตที่ยาวนานจึงถูกทดแทนด้วยงานอุตสาหกรรม ที่สามารถสร้างได้ด้วยบุคคลทั่วไปและมีความรวดเร็ว แต่หากเราลองพิจารณาและไตร่ตรองจะพบว่างานงานอุตสาหกรรมนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสังคมในชุมชนอุตสาหกรรม ในขณะที่งานหัตกรรมช่วงส่งเสริมความแน่นแฟ้นในสังคม และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะระหว่างการผลิตมีการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติในการก่อสร้าง ดังนั้นงานหัตกรรมจึงสามารถช่วยสร้างมูลค่าให้แก่งานสถาปัตยกรรมได้โดย สร้างสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์อันเกิดมาจากกรรมวิธีในการผลิตที่มีความเฉพาะในแต่ละพื้นถิ่น ลดการเผาผลาญพลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สนับสนุนคุณภาพชีวิตในสังคมผู้ผลิตหัตกรรม รวมทั้งยังเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของมนุษยชาติ   โดยหลักการทำงานของ SUMPHAT คือการกระจายรายได้จากระบบอุตสาหกรรมแบ่งปันสู่งานหัตกรรม เพื่อรักษาองค์ความรู้ในชุมชนและเป็นการกระจายรายได้เพื่อสนับสนุน วิถีชีวิตและสภาพสังคมที่สอดคล้องไปกับธรรมชาติ ผลงานออกแบบของ SUMPHAT จึงอาศัยช่างหัตกรรมในการผลิตผลงาน สร้างให้เกิดชิ้นงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้เกิดความแตกต่างและทำให้โครงการของลูกค้าเป็นที่จดจำได้ รวมทั้งยังช่วยหล่อเลี้ยงสังคมหัตกรรมที่อยู่ห่างไกลและยังพอหลงเหลืออยู่ในประเทศไทยให้ดำรงอยู่ต่อไป https://sumphat.space/project/baan-khun-mae-restaurant/

งานหัตถกรรม ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นการประดิษฐ์เครื่องมือและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆด้วยการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นแปรรูปด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับสืบต่อกันมา หรือได้รับจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการใช้งานของตน และมีการเผยแพร่ในชุมชนต่อเนื่องมา ใช้ทักษะฝีมือและภูมิปัญญาชาวบ้านในการสร้าง โดยวัสดุที่เลือกนำมาใช้ก็จะเป็นวัสดุทางธรรมชาติ เช่นวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตร เน้นในเรื่องการใช้งานและพิธีกรรม งานหัตกรรมที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมนั้น ได้แก่ การทำกระเบื้องจงานหัตถกรรมากดินเผา การสานผนังจากไม้ไผ่ การทำโครงสร้างงานไม้ เป็นต้น

งานสถาปัตยกรรมและงานหัตถกรรมนั้น มีความเชื่อมโยงกันมาอย่างยาวนาน เนื่องจากในยุคก่อนอุตสาหกรรม ช่วงศตวรรษที่ 18 เทคโนโลยียังไม่เพียงพอและยังเข้าไม่ถึงในบางพื้นที่ แต่โดยพื้นฐานของมนุษย์นั้นมีความต้องการที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ต้องการที่พักอาศัยที่มีความสบาย ดังนั้นภูมิปัญญาและงานฝีมือจึงเข้ามามีบทบาทในการสร้างงานสถาปัตยกรรมเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น ในแถบขั้วโลกเหนือ มีอากาศที่หนาวจัดและมีพายุหิมะเกือบจะตลอดเวลา ชนเผ่าในแถบนั้นจึงสร้างอิกลูขึ้นมา ซึ่งเป็นที่พักที่ใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ ได้แก่ น้ำแข็งนำมาตัดและปั้นให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมและนำไปวางซ้อนกันเป็นชั้นเหมือนโดม ภายในตรงชั้นผนังขึงด้วยหนังสัตว์ที่ได้จากการล่าและเป็นของเหลือใช้จากการบริโภคเพื่อกักเก็บความอบอุ่น หรือจะเป็นทางแถบทวีปอเมริกาเหนือ ก็มีชนเผ่าที่มักย้ายถิ่นเพื่อตั้งรกรากใหม่ การสร้างที่อยู่อาศัยจึงต้องมีความสะดวกในการจัดเก็บและติดตั้งประกอบใหม่ จึงได้สร้างเต็นท์ที่เรารู้จักในชื่อทิปปี้ขึ้นมา โดยเต็นท์นี้ก็จะมีความทนทานและวัสดุที่นำมาคลุมก็ทำมาจากหนังสัตว์ที่ล่ามาได้ และการใช้ไม้มาทำโครงสร้าง มีองค์ความรู้ในการถอดประกอบทำให้มีความอบอุ่นในฤดูหนาว เย็นสบายในฤดูร้อน และแห้งเมื่อฝนตก ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่ใช้งานหัตถกรรมมาสร้างให้เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมหรือที่เรียกกันว่า VERNACULAR ARCHITECTURE รวมทั้งในประเทศไทยเรานั้นก็มีงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมากมาย โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมภูมิประเทศและวิถีชีวิต รวมทั้งวัสดุที่สามารถหาได้ในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น การนำไม้จริงมาทำโครงสร้าง การสานผนังด้วยไม้ไผ่ การมุงหลังคาด้วยวัสดุที่ระบายความร้อนได้ดีเช่นหญ้าแฝก การคลุมหลังคาให้มีความหนาป้องกันอากาศหนาวด้วยใบตองตึงในภาคเหนือ หรือการทำฝาไม้ปะกนในภาคกลาง ที่สร้างผนังขนาดใหญ่จากไม้ขนาดเล็กมาประกอบ ซึ่งทำให้แต่ละภูมิภาคมีเอกลักษณ์และการออกแบบเพื่อการใช้งานที่ต่างกันออกไป https://sumphat.space/project/atelier-vela/