เลือกใช้ไม้อัด (PLYWOOD), แผ่น MDF และ แผ่น HMF อย่างไร
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับวัสดุทั้งสามประเภทนี้โดยเริ่มจาก ไม้อัด ถูกค้นพบว่ามีการใช้งานตั้งแต่สมัยอียิปเมื่อ 3500 BC. โดยไม้อัดคือการวางไม้วีเนียร์สลับแนวเสี้ยนแล้วอัดด้วยกาวเพื่อทำเป็นแผ่นไม้ที่บาง (เมื่อเทียบสัดส่วนปริมาตร) ลดการยืดหดตัว ไส้แผ่นไม้อัดอาจจะเป็นไม้ประเภทเดียวกันทั้งแผ่นหรืออาจมาจากไส้ไม้ที่คุณภาพด้อยกว่าและใช้ Veneer ลายไม้ที่สวยปิดบนแผ่นหน้าหลัง คุณสมบัติ ไม้อัดเป็นการนำไม้ที่ยังมีเส้นไยไฟเบอร์เส้นยาวรีดเป็นแผ่นมาอัดเข้าด้วยกันทำให้มีความเหนียวทนทาน ไม่รุ่ยง่าย ยึดเกาะตะปูได้ดี ทนความชื้นได้ดีกว่าไม้ที่แปรรูปในตระกูลผง เช่น MDF HDF HMF โดยคุณสมบัติการทนความชื้นของไม้อัดนอกจากเส้นไยไฟเบอร์ขนาดยาวแล้วยังสามารถใส่กาวซึ่งเป็นสารประสานแผ่น Veneer ให้สามารถใช้ได้ยาวนานยิ่งขึ้น ไม้อัดมักจะมีราคาที่สูงกว่า MDF, HDF, HMF เมื่อเทียบความหนาและขนาดที่เท่ากัน สามารถทำการดัดโค้งได้และรับแรงได้ดีกว่า MDF, HDF, HMR แผ่น MDF (Medium-density fiberboard) หรือแผ่นเส้นไยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง เป็นการนำเศษไม้หรือเศษไฟเบอร์ที่มีความป่นเป็นผงมาอัดด้วยกาวแว๊ก หรือกาวเรซินทำขึ้นมาเป็นแผ่นใช้งานอีกครั้งโดยอัดด้วยความร้อนสูงมีความหนาแน่นประมาณ 800 kg/m³ เนื่องจากนำฝุ่นไม้มาใช้ประกอบเป็นแผ่นจึงทำให้เส้นไยไฟเบอร์เซลลูโลสถูกย่อยจนไม่สามารถสร้างเป็นตาข่ายเส้นไย ฝุ่นไม้แต่ละชิ้นเมื่อได้รับความชื้นจึงบวมขึ้นโดยไม่มีการรั้งจากเส้นไยข้างเคียง ซึ่งต่างจากไม้อัดซึ่งเป็นการใช้แผ่นไม้มาอัดสลับเสี้ยนช่วยให้แผ่นที่อยู่ด้านล่างรั้งแผ่นด้านบนที่กำลังขยายตัว คุณสมบัติ แผ่น MDF มีผิวที่เรียบจึงเหมาะกับการพ่นสีเรียบ หรือการติดด้วยวัสดุปิดผิวต่างๆเช่น แผ่น
5 TIPS การตกแต่งที่สะท้อนความเป็นตัวคุณแบบไม่ซ้ำใคร
หากคุณกำลังจะตกแต่งบ้านใหม่และไม่อยากให้เพื่อนๆคิดว่ายกร้านค้ามาวางที่บ้าน เราจะมีการตกแต่งอย่างไรให้บ้านสะท้อนความเป็นตัวตนของคุณ เรามี 5 Tips ดีๆ ที่คุณสามารถทดลองทำเองได้ ◆ PAY ATTENTION TO THE EXTERIOR OF HOMES การเริ่มต้นตกแต่งภายในนั้นสามารถเริ่มง่ายๆจากการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม การได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ที่มาของสถาปัตยกรรมสามารถสร้างเป็นแรงบัลดาลใจในการออกแบบภายในให้สอดคล้อง ต่อเนื่อง กับเรื่องราวภายนอก การเลือกใช้ยุคของสถาปัตยกรรม การใช้วัสดุ รายละเอียดตกแต่งที่เชื่อมโยง รวมถึงการดึงเอาไอเดียจากย่านที่พักอาศัยมาประกอบสร้างเอกลักษณ์ที่ทันสมัยให้กับการตกแต่งภายใน ◆ SHOP FLEA MARKETS YARD SALES การเลือกสรรค์ของตกแต่งนั้นมีความสำคัญในการสร้างเอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำใคร การเดินชมตลาดของเก่าหรือตลาดเปิดท้ายช่วยให้เราสามารถหาสิ่งของที่แปลกใหม่ สินค้าที่หายไปตามยุคเวลา เป็นสิ่งของที่ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป สิ่งของเหล่านี้ช่วยให้ที่พักอาศัยของเรามีมุมสวยๆที่แปลกตา รวมทั้งยังช่วยเพิ่มประวัติศาสตร์ให้กับที่พักอาศัยได้อีกด้วย ◆ VISIT PLACES, WATCH FILM, TRAVEL การหาแรงบัลดาลใจนั้นนอกจากจะออกไปดูสินค้าตามร้านค้าแล้ว การเดินทาง ท่องเที่ยว ก็สามารถสร้างแรงบัลดาลใจได้อย่างมาก การได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างช่วยให้เราสามารถดึงเอาจุดเด่นหรือสิ่งที่ประทับใจมาสร้างสรรค์ การสร้างSpaceที่น่าเร้าใจ รวมถึงStyleที่เราสามารถดึงมาใช้ได้จากหนังเรื่องโปรดของเรา สิ่งดังกล่าวสามารถถูกประยุกต์ใช้ผ่านแสง เวลา และพื้นที่ในการตกแต่งภายในได้เป็นอย่างดี ◆ TAKE AN INVENTORY OF
การเลือกตำแหน่งที่พักอาศัยจะต้องศึกษาอะไรก่อนบ้าง
การเลือกที่ดิน มองหาตำแหน่งปลูกบ้าน เลือกคอนโดมิเนียมสร้างชีวิตใหม่ นอกจากค่าใช้จ่ายแล้วเราควรมีข้อคำนึงอย่างไรบ้าง PROPERTY CRITERIA 3 หัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้จะช่วยในการตัดสินใจสรรหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับตัวเราและครอบครัวได้เป็นอย่างดี PROPERTY SURROUNDING (PS) ได้แก่ : พื้นที่พาณิชย์ใกล้เคียง / สาธารณูปโภคในพื้นที่ / สถานศึกษาบริเวณใกล้เคียง / สถานที่ทำงาน / สภาพการจราจรในพื้นที่ / ความปลอดภัยของย่าน / คุณภาพของสิ่งแวดล้อม PROPERTY VIEW (PV) ได้แก่ : ขนาดของที่ดิน / ลักษณะของที่ดิน / วิว ทิวทัศน์จากที่ดิน / พื้นที่อาคารบนที่ดินที่สามารถก่อสร้างได้ตามกฏหมาย / ตำแหน่งของตัวบ้านบนที่ดิน / รูปแบบสถาปัตยกรรม PROPERTY ATTRIBUTE (PA) ได้แก่ : ราคาบ้านหรือคอนโด /
ปรับปรุงบ้านให้เป็นสถาปัตยกรรมสีเขียวได้อย่างไร?
การออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียวนั้นเป็นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด เพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากรที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสถาปัตยกรรมสีเขียวควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ - การใช้แสงสว่างธรรมชาติ เช่น หลีกเลี่ยงแสงแดดในทิศใต้ ใช้แสงindirectจากทิศเหนือ - การใช้วัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเป็นวัสดุที่ไม่มีสารระเหยในกลุ่ม Formaldehyde - การประยุกต์ใช้ร่มเงาจากต้นไม้โดยพยายามรักษาให้มีพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 20% - การทำความเย็นโดยวิธีธรรมชาติ การจัดช่องเปิดให้ลมธรรมชาติสามารถถ่ายเทได้สะดวก - รูปทรงและทิศทางอาคารควรลดพื้นที่ที่โดนแสงแดดส่องและหันเปิดรับลม - วัสดุและการก่อสร้างไม่ส่งผลกระทบและมลพิษกับสิ่งแวดล้อมทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ - การสร้างร่มเงาให้อาคารด้วยแผงกรองแสง ชายคาเพื่อลดความร้อนในอาคาร - การใช้แหล่งนํ้าเพื่อการไหลเวียนความเย็นโดยออกแบบให้ลมพาความเย็นจากแหล่งน้ำเพื่อลดอุณหภูมิ - การใช้พลังงานธรรมชาติเช่น การติด Solar Panel หรือการออกแบบระบบ Off grid ร่วมกับการใช้ไฟฟ้า On grid งานสถาปัตยกรรมทุกประเภทสามารถเป็นสถาปัตยกรรมสีเขียวได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัยจนไปถึงอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ หากงานสถาปัตยกรรมนั้นมีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตามงานสถาปัตยกรรมสีเขียวไม่จำเป็นต้องใช้หลักการเดียวกันเสมอไป เนื่องจากประเทศและภูมิภาคต่างๆล้วนมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไปแต่หลักการในการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียวนั้นต้องสามารถนำให้อยู่สบาย ลดพลังงาน ลดมลพิษทั้งในโครงการและพื้นที่รอบข้าง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้องโดยสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกสภาพแวดล้อม https://sumphat.space/project/baan-ing-phu/
สถาปัตยกรรมสีเขียวดีอย่างไร?
สถาปัตยกรรมสีเขียวเป็นแนวคิดเพื่อให้ที่พักอาศัยมีคุณภาพที่ดีขึ้นส่งผลต่อผู้อยู่อาศัย โดยจุดเด่นของสถาปัตยกรรมสีเขียวคือ 1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เพราะหลักการขั้นพื้นฐานในการพัฒนางานสถาปัตยกรรมสีเขียวนั้น คือการเลือกใช้วัสดุพื้นถิ่นที่หาได้ง่าย สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน 2. เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน นอกจากการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ระหว่างการก่อสร้างก็จะคำนึงถึงการไม่รบกวนหรือส่งผลเสียต่อชุมชนที่อยู่รอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสียงรบกวน และยังมุ่งเน้นในเรื่องของการรักษาพื้นที่สีเขียวบริเวณโดยรอบ 3. เพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพของผู้ใช้อาคาร การเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาตินั้นมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมไปถึงการเลือกใช้สารเคลือบผิว เช่น สีที่มีสารอินทรีย์ระเหยง่ายต่ำ ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับสภาพแวดล้อมภายในอาคาร และการออกแบบที่คำนึงถึงทิศทางแดดและลมนั้นก็จะช่วยให้อากาศสามารถหมุนเวียนได้ดี อุณหภูมิและแสงสว่างสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านการควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 4. ลดการใช้พลังงานในการผลิต รวมทั้งสะท้อนวิสัยทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้ใช้ การพัฒนางานสถาปัตยกรรมสีเขียวช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเจ้าของ เพราะการให้ความสำคัญกับการพัฒนางานสถาปัตยกรรมสีเขียวนับเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
สถาปัตยกรรมสีเขียวคืออะไร?
สถาปัตยกรรมสีเขียว หรือ GREEN ARCHITECTURE เป็นรูปแบบการออกแบบโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อช่วยส่งเสริมให้อาคารได้ใช้สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการอยู่อาศัยและการประหยัดพลังงานจะต้องสุมดุลกัน หากการเลือกที่จะประหยัดพลังงานจนทำให้อยู่อาศัยไม่สบายนั้นถือว่าไม่ตอบโจทย์ในการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียว ซึ่งในการออกแบบจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. การใช้พลังงานธรรมชาติ : การเลือกใช้พลังงานทดแทนสามารถหมุนเวียนได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังจาก พืชพันธุ์และมูลสัตว์ 2. ความสอดคล้องกับสภาพอากาศ : ในการออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมสีเขียวนั้น ต้องมีการคำนึงถึงการจัดวางพื้นที่ต่างๆสำหรับการใช้สอยให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ดังนั้นการดูทิศทางแดดและทิศทางลมตามธรรมชาติ และการเลือกใช้วัสดุพื้นถิ่นที่เข้ากับภาพแวดล้อมนั้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียวเช่นกัน 3. สภาวะน่าสบาย : หลักการความอยู่สบายของมนุษย์นั้นต้องคำนึงถึง อุณหภาพ แสงสว่าง เสียง และคุณภาพของอากาศด้วย
งานหัตถกรรมส่งเสริมมูลค่าของงานสถาปัตยกรรมได้อย่างไร?
ก่อนยุคอุตสาหกรรมและก่อนการผลิตเครื่องจักรไอน้ำ ช่างฝีมืองานหัตถกรรม ช่างแกะสลักหินและไม้นั้นมีบทบาทหลักในการสร้างงานสถาปัตยกรรม เนื่องจากสถาปัตยกรรมในอดีตอาศัยเครื่องมือและแรงงานคนเป็นหลัก จึงต้องอาศัยองค์ความรู้ที่มีการสืบต่อทางด้านวัฒนธรรม นำมาใช้ในการก่อสร้างที่พักอาศัย แต่หลังจากการกำเนิดของยุคอุตสาหกรรมมา เกิดแนวความคิดใหม่ในการสร้างงานสถาปัตยกรรม จากวัสดุทางอุตสาหกรรม วัสดุต่างๆผ่านจากโรงงาน เน้นปริมาณ และมีความรวดเร็วในการผลิต รวมทั้งลดความสามารถของช่างชำนาญการให้คนทั่วไปสามารถผลิตได้อย่างง่าย การสร้างงานสถาปัตยกรรมด้วยงานหัตกรรมซึ่งต้องใช้องค์ความรู้สูงและเวลาในการผลิตที่ยาวนานจึงถูกทดแทนด้วยงานอุตสาหกรรม ที่สามารถสร้างได้ด้วยบุคคลทั่วไปและมีความรวดเร็ว แต่หากเราลองพิจารณาและไตร่ตรองจะพบว่างานงานอุตสาหกรรมนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสังคมในชุมชนอุตสาหกรรม ในขณะที่งานหัตกรรมช่วงส่งเสริมความแน่นแฟ้นในสังคม และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะระหว่างการผลิตมีการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติในการก่อสร้าง ดังนั้นงานหัตกรรมจึงสามารถช่วยสร้างมูลค่าให้แก่งานสถาปัตยกรรมได้โดย สร้างสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์อันเกิดมาจากกรรมวิธีในการผลิตที่มีความเฉพาะในแต่ละพื้นถิ่น ลดการเผาผลาญพลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สนับสนุนคุณภาพชีวิตในสังคมผู้ผลิตหัตกรรม รวมทั้งยังเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของมนุษยชาติ โดยหลักการทำงานของ SUMPHAT คือการกระจายรายได้จากระบบอุตสาหกรรมแบ่งปันสู่งานหัตกรรม เพื่อรักษาองค์ความรู้ในชุมชนและเป็นการกระจายรายได้เพื่อสนับสนุน วิถีชีวิตและสภาพสังคมที่สอดคล้องไปกับธรรมชาติ ผลงานออกแบบของ SUMPHAT จึงอาศัยช่างหัตกรรมในการผลิตผลงาน สร้างให้เกิดชิ้นงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้เกิดความแตกต่างและทำให้โครงการของลูกค้าเป็นที่จดจำได้ รวมทั้งยังช่วยหล่อเลี้ยงสังคมหัตกรรมที่อยู่ห่างไกลและยังพอหลงเหลืออยู่ในประเทศไทยให้ดำรงอยู่ต่อไป https://sumphat.space/project/baan-khun-mae-restaurant/
งานหัตถกรรมคืออะไร?
งานหัตถกรรม ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นการประดิษฐ์เครื่องมือและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆด้วยการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นแปรรูปด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับสืบต่อกันมา หรือได้รับจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการใช้งานของตน และมีการเผยแพร่ในชุมชนต่อเนื่องมา ใช้ทักษะฝีมือและภูมิปัญญาชาวบ้านในการสร้าง โดยวัสดุที่เลือกนำมาใช้ก็จะเป็นวัสดุทางธรรมชาติ เช่นวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตร เน้นในเรื่องการใช้งานและพิธีกรรม งานหัตกรรมที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมนั้น ได้แก่ การทำกระเบื้องจงานหัตถกรรมากดินเผา การสานผนังจากไม้ไผ่ การทำโครงสร้างงานไม้ เป็นต้น
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเปรียบเสมือนการสร้างงานสถาปัตยกรรมด้วยหัตถศิลป์
งานสถาปัตยกรรมและงานหัตถกรรมนั้น มีความเชื่อมโยงกันมาอย่างยาวนาน เนื่องจากในยุคก่อนอุตสาหกรรม ช่วงศตวรรษที่ 18 เทคโนโลยียังไม่เพียงพอและยังเข้าไม่ถึงในบางพื้นที่ แต่โดยพื้นฐานของมนุษย์นั้นมีความต้องการที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ต้องการที่พักอาศัยที่มีความสบาย ดังนั้นภูมิปัญญาและงานฝีมือจึงเข้ามามีบทบาทในการสร้างงานสถาปัตยกรรมเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น ในแถบขั้วโลกเหนือ มีอากาศที่หนาวจัดและมีพายุหิมะเกือบจะตลอดเวลา ชนเผ่าในแถบนั้นจึงสร้างอิกลูขึ้นมา ซึ่งเป็นที่พักที่ใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ ได้แก่ น้ำแข็งนำมาตัดและปั้นให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมและนำไปวางซ้อนกันเป็นชั้นเหมือนโดม ภายในตรงชั้นผนังขึงด้วยหนังสัตว์ที่ได้จากการล่าและเป็นของเหลือใช้จากการบริโภคเพื่อกักเก็บความอบอุ่น หรือจะเป็นทางแถบทวีปอเมริกาเหนือ ก็มีชนเผ่าที่มักย้ายถิ่นเพื่อตั้งรกรากใหม่ การสร้างที่อยู่อาศัยจึงต้องมีความสะดวกในการจัดเก็บและติดตั้งประกอบใหม่ จึงได้สร้างเต็นท์ที่เรารู้จักในชื่อทิปปี้ขึ้นมา โดยเต็นท์นี้ก็จะมีความทนทานและวัสดุที่นำมาคลุมก็ทำมาจากหนังสัตว์ที่ล่ามาได้ และการใช้ไม้มาทำโครงสร้าง มีองค์ความรู้ในการถอดประกอบทำให้มีความอบอุ่นในฤดูหนาว เย็นสบายในฤดูร้อน และแห้งเมื่อฝนตก ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่ใช้งานหัตถกรรมมาสร้างให้เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมหรือที่เรียกกันว่า VERNACULAR ARCHITECTURE รวมทั้งในประเทศไทยเรานั้นก็มีงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมากมาย โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมภูมิประเทศและวิถีชีวิต รวมทั้งวัสดุที่สามารถหาได้ในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น การนำไม้จริงมาทำโครงสร้าง การสานผนังด้วยไม้ไผ่ การมุงหลังคาด้วยวัสดุที่ระบายความร้อนได้ดีเช่นหญ้าแฝก การคลุมหลังคาให้มีความหนาป้องกันอากาศหนาวด้วยใบตองตึงในภาคเหนือ หรือการทำฝาไม้ปะกนในภาคกลาง ที่สร้างผนังขนาดใหญ่จากไม้ขนาดเล็กมาประกอบ ซึ่งทำให้แต่ละภูมิภาคมีเอกลักษณ์และการออกแบบเพื่อการใช้งานที่ต่างกันออกไป https://sumphat.space/project/atelier-vela/