
ก่อนยุคอุตสาหกรรมและก่อนการผลิตเครื่องจักรไอน้ำ ช่างฝีมืองานหัตถกรรม ช่างแกะสลักหินและไม้นั้นมีบทบาทหลักในการสร้างงานสถาปัตยกรรม เนื่องจากสถาปัตยกรรมในอดีตอาศัยเครื่องมือและแรงงานคนเป็นหลัก จึงต้องอาศัยองค์ความรู้ที่มีการสืบต่อทางด้านวัฒนธรรม นำมาใช้ในการก่อสร้างที่พักอาศัย แต่หลังจากการกำเนิดของยุคอุตสาหกรรมมา เกิดแนวความคิดใหม่ในการสร้างงานสถาปัตยกรรม จากวัสดุทางอุตสาหกรรม วัสดุต่างๆผ่านจากโรงงาน เน้นปริมาณ และมีความรวดเร็วในการผลิต รวมทั้งลดความสามารถของช่างชำนาญการให้คนทั่วไปสามารถผลิตได้อย่างง่าย การสร้างงานสถาปัตยกรรมด้วยงานหัตกรรมซึ่งต้องใช้องค์ความรู้สูงและเวลาในการผลิตที่ยาวนานจึงถูกทดแทนด้วยงานอุตสาหกรรม ที่สามารถสร้างได้ด้วยบุคคลทั่วไปและมีความรวดเร็ว แต่หากเราลองพิจารณาและไตร่ตรองจะพบว่างานงานอุตสาหกรรมนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสังคมในชุมชนอุตสาหกรรม ในขณะที่งานหัตกรรมช่วงส่งเสริมความแน่นแฟ้นในสังคม และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะระหว่างการผลิตมีการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติในการก่อสร้าง ดังนั้นงานหัตกรรมจึงสามารถช่วยสร้างมูลค่าให้แก่งานสถาปัตยกรรมได้โดย สร้างสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์อันเกิดมาจากกรรมวิธีในการผลิตที่มีความเฉพาะในแต่ละพื้นถิ่น ลดการเผาผลาญพลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สนับสนุนคุณภาพชีวิตในสังคมผู้ผลิตหัตกรรม รวมทั้งยังเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของมนุษยชาติ
โดยหลักการทำงานของ SUMPHAT คือการกระจายรายได้จากระบบอุตสาหกรรมแบ่งปันสู่งานหัตกรรม เพื่อรักษาองค์ความรู้ในชุมชนและเป็นการกระจายรายได้เพื่อสนับสนุน วิถีชีวิตและสภาพสังคมที่สอดคล้องไปกับธรรมชาติ ผลงานออกแบบของ SUMPHAT จึงอาศัยช่างหัตกรรมในการผลิตผลงาน สร้างให้เกิดชิ้นงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้เกิดความแตกต่างและทำให้โครงการของลูกค้าเป็นที่จดจำได้ รวมทั้งยังช่วยหล่อเลี้ยงสังคมหัตกรรมที่อยู่ห่างไกลและยังพอหลงเหลืออยู่ในประเทศไทยให้ดำรงอยู่ต่อไป